บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

บทที่ 3 การจัดเวลาซีพียู (CPU Scheduling)

รูปภาพ
การจัดการเวลา CPU โดย นายอาทิตย์ ยลระบิล ชั้น ปวส.1 6031280069 การจัดเวลาซีพียู (CPU Scheduling)      การจัดเวลาซีพียู (CPU Scheduling) เป็นหลักการทำงานหนึ่งของโปรแกรมจัดการระบบที่มีความสามารถในการรันโปรแกรมหลาย ๆ โปรแกรมในเวลาเดียวกัน ซึ่งการแบ่งเวลาการเข้าใช้ซีพียูให้กับงานที่อาจถูกส่งเข้ามาหลาย ๆ งานพร้อม ๆ กัน ที่ซีพียูอาจมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนโปรแกรม หรืออาจมีซีพียูเพียงตัวเดียว จะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ปริมาณงานที่มากขึ้นกว่าการที่ให้ซีพียูทำงานให้เสร็จทีละงาน หลักความต้องการพื้นฐาน     - จุดประสงค์ของการรันโปรแกรมหลายโปรแกรมคือ ความต้องการที่จะให้ซีพียูมีการทำงานตลอดเวลา เพื่อให้มีการใช้ซีพียูอย่างเต็มที่ และเต็มประสิทธิภาพ      - สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีซีพียูตัวเดียว ในเวลาใดเวลาหนึ่งซีพียูจะทำงานได้เพียงงานเดียวเท่านั้น ถ้ามีหลายโปรแกรมหรือหลายงาน งานที่เหลือก็ต้องคอยจนกว่าจะมีการจัดการให้เข้าไปใช้ซีพียู     - หลักการของการทำงานกับหลายโปรแกรมในขั้นพื้นฐานนั้นค่อนข้างจะไม่ซับซ้อน แต่ละโปรแกรมจ...

บทที่ 2 การจัดการ Process

รูปภาพ
บทที่ 2 การจัดการ Process โดย นายอาทิตย์ ยลระบิล  6031280069  ปวส.1      process หมายถึง โปรแกรมที่กำลังถูกประมวลผลในการทำงานทั่วไปในระบบคอมพิวเตอร์ นั้นผู้ใช้อาจต้องการเรียกใช้ word processor หรือ java compiler หรือโปรแกรมอื่นซึ่งโปรแกรมเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนให้เป็น process ผ่านกระบวนการที่ได้กำหนดไว้ ช่วงชีวิตของโปรแกรมที่กำลังถูกประมวลผลนี้มีอยู่หลายสถานะ (process state) และตัวของ process เองก็ต้องมีที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวมันเองซึ่งเราเรียกส่วนนี้ว่า process control block (PCB) องค์ประกอบของโปรเซส 1. หมายเลขโปรเซส ( Process id) ของโปรเซส ซึ่งต้องไม่ซ้ำกับโปรเซสอื่น 2. โค้ดโปรแกรม ( Program code) เป็นคำสั่งที่สามารถเอ็กซีคิ้วได้ทันที (ภาษาเครื่อง) 3. ข้อมูล ( Data) ที่โปรแกรมต้องการหรือจัดการ ข้อมูลนี้อาจเป็นของโปรเซสใดโปรเซส 4. บล็อกควบคุมโปรเซส ( Process control block) หรือ PCB OS กำหนดเนื้อที่บาง ส่วนในหน่วยความจำเพื่อทำเป็น PCB PCB เป็นโครงสร้างข้อมูลชนิดหนึ่งซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญๆ ของโปรเซสนั้นๆ เอาไว้ ข้อมูลเหล่านี้ได...